AS Product
AS ARMBAR
Develop Barcode Online
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบาร์โค้ดและ EDI
BARCODE หรือ รหัสแท่ง คืออะไร
คือ สัญลักษณ์ (Symbol) ที่อยู่ในรูปของแท่งบาร์ สามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง Scanner รหัสแท่งจะประกอบด้วย บาร์ที่มีสีเข้ม และ ช่องว่างสีอ่อน บาร์เหล่านี้เป็นตัวแทนของตัวเลขหรือตัวอักษร
ประเภทของบาร์โค้ด
  1. โค้ดภายใน (Internal Code) เป็นบาร์โค้ดที่ทำขึ้นใช้เองในองค์กรต่าง ๆ ไม่สามารถนำออกไปใช้ภายนอกได้
  2. โค้ดมาตรฐานสากล (Standard Code) ที่เป็นที่รู้จัก และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก มี 2 ระบบ คือ
    2.1  ระบบ EAN (European Article Numbering)
         เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2519 มีประเทศต่าง ๆ ใช้
         มากกว่า 90 ประเทศทั่วโลกในภาคพื้นยุโรป      เอเชียและแปซิฟิค,ออสเตรเลีย,ลาตินอเมริ-
         กา รวมทั้งประเทศไทย
    2.2  ระบบ UPC (Universal Product Code) เริ่ม
         ใช้เมื่อปี พ.ศ. 2515 โดยมีการใช้แพร่หลาย
         ในประเทศสหรัฐอเมริกา และแคนาดา
  สถาบันฯ ควบคุมรหัสสากล
ความหมายของเลขหมายประจำตัวสินค้า  
    เลขหมายประจำตัวสินค้า คือ เลขหมายที่ระบุบนตัวสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะเฉพาะตัว ระบบหมายเลข นี้เป็นที่เข้าใจถึงตัวสินค้า  เช่นเดียวกันในระหว่างผู้ผลิต  ผู้จัดจำหน่าย  ผู้ค้าปลีก และผู้บริโภค โดยไม่ซ้ำซ้อนกับสินค้าอื่นๆ ตัวอย่างของเลขหมายประจำตัวสินค้าได้แก่
  • 8850000000000 (EAN-13)
  • 88500000 (EAN-8)
  •  
    EAN International กำหนดรหัสประเทศ
    รหัสประเทศ ชื่อประเทศ รหัสประเทศ ชื่อประเทศ
    00 – 13 สหรัฐอเมริกาและแคนาดา 690 – 693 จีน
    20 – 29 เลขหมายที่ใช้ภายในหน่วยงาน 880 เกาหลีใต้
    30 – 37 ฝรั่งเศส 885 ไทย
    400 - 440 เยอรมัน 888 สิงค์โปร์
    460 - 469 รัสเซีย 977 วารสาร (ISSN)
    471 ไต้หวัน 978 หนังสือ (ISBN)
    54 เบลเยี่ยม/ลักซ์เซมเบิร์ก    
    การคำนวณตัวเลขตรวจสอบ  
    1. บวกเลขจากซ้ายมาขวา โดยบวกสลับกันไป ตามตัวอย่างคือ 1 + 0 + 0 + 3 + 1 + 8 = 13
    2. นำผลบวกจากข้อ 1 มาคูณ 3 เสมอ
      13 X 3 = 39
    3. บวกตัวเลขที่เหลือ โดยวิธีตามข้อ 1 คือ
      0 + 0 + 4 + 2 + 5 + 8 = 19
    4. นำผลคูณจากข้อ 2 รวมกันผลบวกจากข้อ 3 ดังนี้
      13 + 19 = 58
    5. นำเลขท้ายของผลบวกในข้อ 4 รวมกับค่าอะไรก็ได้ให้รวมกันได้ 10 ค่านั้นคือ ค่า C ดังนี้
      ผลบวกข้อ 4 = 58 ใช้ค่า 8 + 2 = 10
      เพราะฉะนั้น ค่า C = 2
    ประโยชน์ของการติดบาร์โค้ดมาตรฐานสากลกับตัวสินค้า
    การนำบาร์โค้ดมาตรฐานสากลมาใช้ในธุรกิจการค้า จะมีคุณประโยชน์หลายประการ คือ
    1. ลดขั้นตอน และประหยัดเวลาการทำงาน การซื้อขายสินค้า จะมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะการรับชำระเงิน การออกใบเสร็จ การตัดสินค้าคงคลัง
    2. ง่ายต่อระบบสินค้าคงคลัง คอมพิวเตอร์ซึ่งเชื่อมกับเครื่องสแกนเนอร์ จะตัดยอดสินค้าโดยอัตโนมัติ จึงสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับการหมุนเวียนสินค้า สินค้ารายการใดจำหน่ายได้ดีหรือไม่ มีสินค้าเหลือเท่าใด
    3. ยกระดับมาตรฐานสินค้า การระบุบาร์โค้ดแสดงข้อมูลสินค้าของผู้ผลิตแต่ละราย ทำให้ผู้ผลิต คำนึงถึงการปรับปรุงคุณภาพ สินค้าเพื่อรักษาภาพลักษณ์ของสินค้า และสอดคล้องกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เรื่องการแสดงข้อมูลสินค้า
    4. สร้างศักยภาพเชิงแข่งขันในตลาดต่างประเทศ บาร์โค้ดมาตรฐานสากลเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงสินค้าที่เชื่อถือได้ การมีเลขหมายประจำตัวสินค้า ทำให้ผู้สนใจสามารถทราบถึงแหล่งผู้ผลิต และติดต่อซื้อขายกันได้สะดวกโดยตรง รวมถึงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการส่งออก
    5. เพิ่มประสิทธิภาพในระบบการบริหารจัดการ ซัพพลายเชน โดยการใช้ข้อมูลจากบาร์โค้ดมาตรฐานสากล ช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถได้รับข้อมูลทางการผลิต การค้าได้ทันที และถูกต้องแม่นยำ ทำให้สามารถตัดสินใจวางแผนบริหารงานด้านการผลิต สินค้าคงคลัง ด้านการขนส่ง การจัดซื้อ และการตลาดเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
    EDI คืออะไร  
    นิยามของ EDI  
           ปัจจุบันข้อมูลที่อยู่ในเอกสารส่วนมากจะพิมพ์มาจาก คอมพิวเตอร์ และเป็นข้อมูลก่อนที่อัพเดท ข้อมูลที่ไม่อัพเดทเหล่านี้ ผู้ที่รับไป (อาทิเช่น ลูกค้า ฯลฯ) จะนำไปเข้าคอมพิวเตอร์อีก เมื่อเวลาผ่านไปถ้านำเอาข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ อาทิเช่น บริษัทต่อบริษัทติดต่อกันระบบคอมพิวเตอร์จะทำงานช้าสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และได้ข่าวสารข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ ทั้งหมดนี้คือปัญหา สรุปแล้วการติดต่อในวงการธุรกิจ (หรือวงการใด ๆ ก็ตาม) ข่าวสารข้อมูลจะต้องรวดเร็ว ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและช่วยให้สามารถตัดสินใจได้ถูกต้อง
           EDI หรือ Electronic Data Interchange คือ ระบบส่งถ่ายทอดข่าวสารข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง ในรูปของสัญญาณอิเล็คทรอนิกส์โดยมนุษย์เราเข้าไปยุ่งเกี่ยวน้อยที่สุด
      ประโยชน์ของการใช้ EDI
      1. EDI ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านงานธุรการและขั้นตอน ดำเนินการ
    2. กระบวนการธุรกิจรวดเร็วคล่องตัว
    3. EDI ช่วยวางแผนและกลยุทธ์ทางธุรกิจ
    EDI กับ Product Numbers  
           การที่รู้ว่าเป็นสินค้าตัวใด วิธีที่ดีที่สุดคือ บอกเลขรหัสหรือ Code บางแห่งอาจใช้ป้ายติดซึ่งจะไม่ชัดเจนแม่นยำเท่ารหัส นอกจากนี้ Standard messages EDI ยังใช้กับ international codes ได้ด้วย ต่อไปในอนาคตจะช่วยให้การทำธุรกิจง่ายขึ้น และ EAN ได้จัดวางโครงสร้างพื้นฐานเตรียมพร้อมไว้ให้แล้ว
           ในระบบจำหน่ายแบบโลกาภิวัฒน์เช่นปัจจุบัน International codes ย่อมมีความสำคัญมากเป็นพิเศษ ในระบบรหัสตัวเลขสากลของ EAN นั้น สินค้าทุกชนิด ทุกประเภท ไม่ว่าจะผลิตหรือจำหน่ายที่ใด จะมีรหัสประจำที่แน่นอน ไม่มีการคลาดเคลื่อนสับสน และในกรณีจำเป็นก็จะสามารถเขียนหรือติดที่สินค้าได้ ซึ่งจะสามารถอ่านได้ทั้งโดยคนและเครื่องช่วย ทำให้สามารถระบุหรือจำแนกได้อย่างรวดเร็วแน่นอนชัดเจน
    EDI กับ Global Location Numbers  
           ในลักษณะเดียวกันกับสินค้า การบอกสถานที่ (location) หรือบริษัทสามารถใช้ข้อมูลในรูปของรหัสแทนตัวหนังสือได้ และเป็นการบอกที่มีประสิทธิภาพดียิ่งกว่า ในการติดต่อทางธุรกิจทุก ๆ ครั้ง ชื่อ ที่อยู่ หรือข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ไม่ใช่เรื่องจำเป็นเสมอไป ปกติ เมื่อป้อนข้อมูลเพียงครั้งเดียว ระบบก็จะ “เมมโมรี” (เก็บไว้ในความจำของระบบ) ไว้ซึ่งสามารถเรียกมาใช้ได้เมื่อต้องการข้อมูลสถานที่ เมื่อเข้าในระบบ EDI ก็จะอยู่ในเครือข่ายข้อมูลและใช้ในการรับส่ง EDI messages ให้ถูกสถานที่ สำหรับ EAN ก็จะมีโปรแกรมสำหรับรหัสบอกแหล่งของสินค้า (location codes) โดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง สามารถใช้ได้กับ location codes เฉพาะทุกอย่างทั้งกลุ่มและเดี่ยว
    EDI กับรหัสแท่ง  
           EDI เป็นวิธีการติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้สื่อเชื่อมโยง อาทิเช่น สายโทรศัพท์ ทำนองเดียวกัน รหัสแท่งก็เป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนรหัสระบุสินค้าให้เป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลต่าง ๆ ที่จะให้คอมพิวเตอร์อ่าน อาทิเช่น หมายเลขของสินค้าจะอยู่ในรูปของรหัสแท่ง ซึ่งคอมพิวเตอร์จะอ่านหรือสแกนและแปลเป็นข้อมูลไปใช้ต่อไป นอกจากรหัสตัวเลข EAN ยังมีรหัสแท่ง ป้ายรหัสแท่ง (bar code label) และรหัสชุด (serialized code) ซึ่งใช้สำหรับตู้สินค้า EAN bar codes เป็นระบบสากลซึ่งใช้ได้ทุกหนทุกแห่งทั่วโลก ระบบคอมพิวเตอร์จะสามารถอ่านเข้าใจเหมือนกันหมด
    ประโยชน์และข้อได้เปรียบจากการใช้ EDI  
      1. ประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายในการบริหารงานและจัดเก็บเอกสารต่าง ๆ
      2. ลดค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเอกสาร และปัญหาการสูญหาย
      3. ลดปัญหาและเวลาในการจัดเก็บสินค้าคงคลัง
      4. มีระบบฐานข้อมูลที่ถูกต้อง
      5. ลดความผิดพลาดอันเนื่องมาจากการบันทึกข้อมูลซ้ำซ้อน
      6. มีระบบข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยพร้อมที่จะนำมาใช้ในการบริหารงานได้ทันต่อความต้องการ
      7. ช่วยให้การเก็บเงินเร็วขึ้น และลดปัญหาการดำเนินการเกี่ยวกับการดูแลเงินสดและเช็ค ด้วยระบบชำระเงินผ่านธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ (EFT)
      8. เพิ่มโอกาสทางการตลาด ซึ่งจะทำให้ได้เปรียบในการดำเนินธุรกิจเหนือคู่แข่งที่อยู่นอกระบบ
       
    ที่มา สถาบันรหัสสากล
    สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
    www.eanthai.org
    กลับขึ้นด้านบน
    กลับไปหน้าก่อน